การจัดการความรู้
สำนักวิทยบริการ
********
Login Form
บทความล่าสุด
- คู่มือการการใช้โปรแกรม Open Broadcaster Software (OBS)
- คู่มือการการใช้โปรแกรม Open Broadcaster Software (OBS)
- สรุปผลการอบรม TQA
- แนะนำการใช้งานห้องทองกวาว Studio room เพื่อการสอนออนไลน์
- แนะนำการใช้งานโปรแกรมOBS studioเพื่อการสอนออนไลน์
- สรุปผลการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์สำนักวิทยบริการ ปีงบประมาณ 2559-2561 (ส่วนหนึ่งของงานวิจัยสถาบัน)
- กระบวนการผลิตวีดิทัศน์และเทคโนโลยีในปัจจุบัน
- การใช้โสตทัศนูปกรณ์ในห้องเรียน
- การใช้เครื่อง Lecture Video Production (ผลิตสื่อการเรียนการสอน LMS)
- อบรมการจัดทำโปรแกรมการจัดการฐานข้อมูลทรัพย์สินสำนักวิทยบริการ
บทนำ
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้มีการเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมงแก่ผู้ใช้บริการ ในช่วงสอบกลางภาคการศึกษาและช่วงสอบปลายภาคการศึกษา โดยความร่วมมือกับสภานักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ตั้งแต่ปีการศึกษา 2559-2560 โดยใช้พื้นที่ ชั้น 2 อาคารข้อมูลท้องถิ่น เป็นสถานที่เปิดให้บริการ มีการบริหารจัดการโดยใช้คณะกรรมการสภานักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ร่วมกับพนักงานรักษาความปลอดภัยประจำสำนักวิทยบริการเพื่อดูแลความเรียบร้อยและอำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ แก่ผู้ใช้บริการ
เนื้อหา
จากการให้บริการที่ผ่านมา สำนักวิทยบริการได้เก็บรวบรวมข้อมูลความพึงพอใจจากผู้ใช้บริการพื้นที่ 24 ชม. ในช่วงการสอบปลายภาคการศึกษาที่ 1/2560 ด้วยแบบสอบถามออนไลน์ มี่ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งมด 16 คน โดยแบ่งความพึงพอใจเป็น 5 ด้าน ได้แก่ 1. ความเหมาะสมของสถานที่ (ความพึงพอใจ 3.81 ระดับ ปานกลาง) 2. ด้านความปลอดภัย (ความพึงพอใจ 3.44ระดับ ปานกลาง) 3. ด้านการให้บริการของเจ้าหน้าที่ (ความพึงพอใจ 3.56 ระดับดี) 4. ด้านความเหมาะสมของระยะเวลา (ความพึงพอใจ 3.69 ระดับดี) 5. ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (ความพึงพอใจ 3.69 ระดับ ดี) ความพึงพอใจในภาพรวม 3.64 ระดับดี มีข้อเสนอแนะ 2 เรื่องคือ ควรมีที่เก็บของไว้ให้สำหรับคนที่ลืมของไว้ในห้องสมุด 2. .อยากให้เปิดบริการตลอด ไม่ใช่เปิดแค่ช่วงสอบ บางครั้งช่วงสอบอาจไม่เปิดก็มี แนวทางแก้ไขปัญหาคือ 1.จัดล้อกเกอร์สำหรับฝากของไว้ที่ด้านหน้า 2. อยู่ระหว่างการปรับปรุงพื้นที่ชั้น 2 อาคารข้อมูลท้องถิ่นเพื่อเป็นพื้นที่ Co-Working Space ซึ่งจะสามารถรองรับการเปิดเป็นที่ให้บริการ 24 ชม.ได้ตลอด
ทั้งนี้จากการได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างข่ายงานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา แห่งประเทศไทย ได้รับการชื่นชมว่าเป็นแนวปฏิบัติที่ดีในการให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย คือ สภานักศึกษาได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการให้บริการ 24 ชม. และมีหลาย ๆ หน่วยงาน/สถาบันจะได้นำไปเป้นแนวปฏิบัติในการเปิดให้บริการ 24 ชม.ของหน่วยงาน/สถาบันต่อไป
- รายละเอียด
- เขียนโดย พนม จรูญแสง
- หมวด: ฝ่ายหอสมุด
- ฮิต: 10286
งานข้อมูลท้องถิ่น สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่สนับสนุนด้านวิชาการ ส่งเสริมการเรียนการสอน และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมให้กับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และผู้ที่สนใจ ได้ดำเนินการศึกษา รวบรวม และพัฒนาสารสนเทศเพื่อการชี้แหล่งศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นขึ้น ซึ่งอยู่ในรูปของฐานข้อมูลที่เผยแพร่บนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยมีความคาดหวังว่าฐานข้อมูลที่จัดทำขึ้นนี้จะเป็นแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดอุบลราชธานีและภาคอีสาน ช่วยอำนวยความสะดวกในการชี้แหล่งข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจของผู้ที่สนใจ และเป็นการพัฒนาสารสนเทศท้องถิ่นให้มีความน่าสนใจและสามารถเผยแพร่ข้อมูลได้หลากหลายและกว้างขวางมากขึ้น
ฐานข้อมูลเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานี ได้ดำเนินการเผยแพร่อยู่บนเว็บไซต์ “สารสนเทศท้องถิ่น ณ อุบลราชธานี” (www.esanpedia.oar.ubu.ac.th/esaninfo) ในการดำเนินงานนั้น มีเทคนิคและวิธีการพัฒนาสารสนเทศเพื่อการชี้แหล่งศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ดังนี้
- รายละเอียด
- เขียนโดย ขนิษฐา ทุมมากรณ์
- หมวด: ฝ่ายหอสมุด
- ฮิต: 10454
จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบรรณารักษ์ ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุดคณะ และสำนักวิทยบริการมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี สามารถสรุปแนวปฏิบัติที่ดี แบ่งเป็นประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
1. การให้บริการยืม-คืน ทรัพยากรสารสนเทศ พบปัญหาส่วนใหญ่ที่พบคือ
1.1 นักศึกษาหรือสมาชิกที่มาใช้บริการไม่พกบัตรนักศึกษาเพื่อยืนยันตัวตน
แนวปฏิบัติที่ดี
- ให้นักศึกษาที่ต้องการยืมทรัพยากรสารนเทศแต่ไม่พกบัตรไปหาสมาชิกห้องสมุดที่มีบัตรสมาชิกมายืมแทน ทั้งนี้ ผู้ที่มายืมให้ต้องรับผิดชอบในทรัพยากรสารนิเทศนั้น ๆ
- ให้นักศึกษาหรือสมาชิกที่ต้องการยืมทรัพยากรสารสนเทศแต่ไม่ได้พกบัตรยืนยันตนเองด้วยการกรอกรหัสนักศึกษาหรือรหัสสมาชิกในระบบ และให้เจ้าหน้าที่ที่ให้บริการยืมคืนตรวจสอบกับรูปถ่ายในฐานข้อมูลอีกครั้งว่าตรงกันหรือไม่
1.2 การต่ออายุสมาชิกที่สำนักวิทยบริการเพียงจุดเดียว
แนวปฏิบัติที่ดี
เปิดสิทธิ์ให้เจ้าหน้าที่ห้องสมุดต่ออายุสมาชิกให้นักศึกษาของคณะตนเองได้ ทั้งนี้ ต้องมีการอัพเดทข้อมูลสมาชิก เช่น E-mail Address และ หมายเลขโทรศัพท์ พร้อมระบุในช่องหมายเหตุให้ทราบด้วยว่าการต่ออายุภาคการศึกษาที่เท่าไร ปีการศึกษาใด ใครเป็นผู้ต่ออายุสมาชิก ในส่วนของการสมัครสมาชิกห้องสมุด ให้ผู้ใช้บริการมาสมัครสมาชิกที่สำนักวิทยบริการเพียงจุดเดียว
1.3 การคืนทรัพยากรสารสนเทศ ต้องการให้คืนได้ทุกจุด ทุกคณะ
แนวปฏิบัติที่ดี
ให้นำประเด็นหารือที่ประชุมคณะกรรมการประจำสำนัก เนื่องจากปัญหาคืองานสารบรรณของแต่ละคณะไม่ยอมรับส่งทรัพยากรสารสนเทศ และให้ผู้ใช้บริการนำส่งยังห้องสมุดเจ้าของทรัพยากรด้วยตัวเอง ยืมที่ไหนส่งที่นั่น
2. การให้บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า ปัญหาที่พบคือ
2.1 เว็บไซต์สำนักวิทยบริการล่ม ทำให้ไม่สามารถสืบค้น Web OPAC ได้
แนวปฏิบัติที่ดี
- ใช้ระบบในการสืบค้นหรือหากระบบล่มด้วยให้ใช้เว็บไซต์ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เพื่อ
สืบค้นทรัพยากรและเทียบเคียงเลขเรียกหนังสือเพื่อเป็นแนวทางในการหาหนังสือเล่มที่ใช่หรือใกล้เคียงที่สุด
3. บริการหรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ
3.1 นางสาวนุจรินทร์ ภูธา ตำแหน่ง บรรณารักษ์ ระดับ ชำนาญการพิเศษ สำนักวิทยบริการ แจ้งเพื่อทราบ การให้บริการยืมระหว่างห้องสมุดผ่านเครือข่าย PULINET (EDS)
3.2 การรับชำระค่าปรับค้างส่งหนังสือ สำนักวิทยบริการ แจ้งเพื่อทราบว่า ในอนาคตอันใกล้ มหาวิทยาลัยจะมีการให้บริการชำระเงินผ่านระบบบัตรเครดิต
3.3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ แจ้งที่ประชุมเพื่อทราบถึงการบริการพิมพ์เอกสาร (ปริ้น) ด้วยตัวเองโดยใช้ระบบหยอดเหรียญ
3.4 คณะเภสัชศาสตร์ แจ้งเพื่อทราบว่าคณะเภสัชศาสตร์ มีบริการสแกนเอกสาร โดยผู้ใช้บริการสามารถสแกนและส่งเมล์ข้อมูลที่สแกนได้โดยสามารถทำได้ด้วยตนเอง
4. ปัญหาในการให้บริการ
4.1 การยืมหนังสือ กรณีการยืมต่อออนไลน์ ซึ่งผู้ใช้บริการหนังสือค้างส่ง จำนวน 1 เล่ม แต่ทำให้ไม่สามารถยืมต่อออนไลน์ได้ โดยระบบจะล็อคการยืมต่อของเล่มอื่นๆ ด้วย
4.2 ระบบ Walai AutoLIB ยังไม่เสถียร หลุดบ่อย และการประมวลผลล่าช้า ทำให้ผู้ใช้บริการต้องเสียเวลาในการใช้
บริการนาน
- รายละเอียด
- เขียนโดย พนม จรูญแสง
- หมวด: ฝ่ายหอสมุด
- ฮิต: 5100
สรุปผลการดำเนินงาน Smart Office หอสมุด สำนักวิทยบริการ ปีงบประมาณ 2560
นางสาวมะลิวัลย์ สินน้อย
บรรณารักษ์ ชำนาญการพิเศษ
รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายหอสมุด
การจัดการความรู้ (KM) สำนักวิทยบริการ ได้จัดทำแผนการจัดการความรู้ประจำปีงบประมาณ 2560 คือ “การเป็นหน่วยงานอัจฉริยะ Smart Office” วัตถุประสงค์ คือ มุ่งสู่การใช้เทคโนโลยีเพื่อเชื่อมโยงการทำงาน จัดเก็บข้อมูล และประสานงานอย่างมีประสิทธิภาพ ประโยชน์ที่ได้รับ เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของหน่วยงาน โดย ลดขั้นตอน สะดวก รวดเร็ว ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
ฝ่ายหอสมุด ได้ดำเนินการตามนโยบาย Smart Office โดยมีแนวปฏิบัติการเป็น smart office โดยการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการปฏิบัติงาน และอำนวยความสะดวกต่อผู้รับบริการ เป้าประสงค์ คือ ลดการใช้ทรัพยากร ลดขั้นตอนในการรับบริการ และให้สะดวกรวดเร็วต่อผู้ใช้บริการ
![]() |
![]() |
![]() |
ฝ่ายหอสมุด มีการประชุมวางแผนเพื่อหารือถึงแนวทางปฏิบัติดังกล่าว โดยได้สรุปเป็นหัวข้อในการลดขั้นตอนในการปฏิบัติเพื่อหาแนวทางการดำเนินงาน Smart Office สรุปได้ดังนี้
ประโยชน์ที่จะได้รับคือกระบวนการในการให้บริการของฝ่ายหอสมุดทำให้งานสะดวกรวดเร็ว มีประสิทธิภาพในการให้บริการ
จากการดำเนินงานโดยการลดขั้นตอนที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ฝ่ายหอสมุดได้ดำเนินการตามนโยบายของคณะกรรมการ การจัดการความรู้ (KM) สำนักวิทยบริการ “การเป็นหน่วยงานอัจฉริยะ Smart Office” ซึ่งสอดคล้องกับแนวปฏิบัติการเป็น smart office ของฝ่ายหอสมุด คือ ใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติงาน และอำนวยความสะดวกต่อผู้รับบริการ โดยมีเป้าประสงค์ คือ ลดการใช้ทรัพยากร ลดขั้นตอนในการรับบริการ เพื่อพัฒนาการให้บริการ และการบริหารจัดการในฝ่ายหอสมุด ให้มีความสะดวก รวดเร็ว ประหยัดและลดต้นทุน นำมาซึ่งประสิทธิภาพและประสิทธิผล และสร้างเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับสำนักวิทยบริการ
- รายละเอียด
- เขียนโดย มะลิวัลย์ สินน้อย
- หมวด: ฝ่ายหอสมุด
- ฮิต: 18834
การเขียนเอกสารอ้างอิง
การอ้างอิงเอกสารสำหรับการเขียนงานบทความ วิจัย และวิทยานิพนธ์ เพื่อให้ทราบแหล่งที่มาของเอกสารว่าน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใดและเป็นการให้เกียรติแก่เจ้าของผลงานชิ้นนั้นๆ ซึ่งรูปแบบในการใช้อ้างอิงมีหลายรูปแบบแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสถาบันแต่ละสถาบันจะกำหนดรูปแบบในการเขียนอ้างอิง ณ ที่นี้ขอนำเสนอการเขียนอ้างอิงในรูปแบบ APA edition ที่ 6 และรูปแบบของ MLA
ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากคู่มือการเขียนเอกสารอ้างอิง
- รายละเอียด
- เขียนโดย มะลิวัลย์ สินน้อย
- หมวด: ฝ่ายหอสมุด
- ฮิต: 22134