การจัดการความรู้

สำนักวิทยบริการ

********

 

 

 

Login Form

Attachments:
FileCreatorFile sizeCreatedLast modified
Download this file (the article.pdf)the article.pdfปริญญา บุญศรัทธา656 kB2019-03-21 09:402019-03-21 09:40
E-Book (Electonic Book) คือ หนังสือที่สร้างขึ้นในรูปแบบดิจิตอล โดย ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และเปิดอ่านผ่านทางเครื่องคอมพิวตอร์ โทรศัพท์ สมาร์ทโฟน หรือแท็ปเล็ต ทั้งในระบบออนไลน์และออฟไลน์ จุดเด่น ของ E-book คือสามารถมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกับผู้อ่านได้ และสามารถ แทรกภาพเคลื่อนไหว วีดีโอ หรือเสียงได้ รวมไปถึงสามารถปรับเปลี่ยน การออกแบบให้เหมาะสมขนาดของอุปกรณ์ที่ใช้เปิดอ่านได้ รูปแบบที่เป็นที่นิยมของ E-book ปัจจุบันมี 2 ประเภท คือ PDF (Portable Digital Format) และ ePub (Electronic Publication) โดยโปรแกรมที่ใช้ออกแบบ E-Book นั้นมีหลายโปรแกรมให้เลือกใช้ ในที่นี้จะกล่าวถึงโปรแกรม Adobe InDesign ซึ่งโปรแกรม Adobe InDesign เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างสื่อสิ่งพิมพ์ และได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน เราจะใช้ในการออกแบบงานด้านสื่อสิ่งพิมพ์ จุดเด่นของโปรแกรม Indesign คือสามารถทำงานด้านการจัดหน้ากระดาษได้เป็นอย่างดี ซึ่งคล้ายๆกับการนำเอาโปรแกรม Pagemaker มารวมกับโปรแกรม Illustrator

องค์ประกอบ InDesign ประกอบด้วย

                   แถบคอนโทรพาแนล  (Control Panel) เป็นแถบตัวเลือกสำหรับการกำหนดค่าต่างๆ ของวัตถุ เพื่ออำนวย ความสะดวกแก่ผู้ใช้ โดยจะปรับเปลี่ยนตัวเลือกไปตาม การใช้งาน ระหว่างวัตถุและการทำงานกับข้อความ ให้สามารถกำหนดค่า สี ขนาด ตำแหน่ง และคุณสมบัติต่างๆ ของวัตถุและรูปแบบของข้อความที่เลือก ได้ง่ายขึ้น

                    กล่องเครื่องมือ  (Tools box) กล่องเครื่องมือรวบรวมเครื่องมือสำหรับ ปรับแต่งและแก้ไขวัตถุ ซึ่ง มีไอคอนให้เลือกได้อย่างง่ายและรวดเร็ว โดยกลุ่มเครื่องมือจะแบ่งเป็น ดังนี้

1.      กลุ่มคำสั่ง Selection tools เกี่ยวกับการเลือกวัตถุ

2.      กลุ่มคำสั่ง Drawing and Type tools เกี่ยวกับการวาดภาพ และใส่ตัวอักษร

3.      กลุ่มคำสั่งพิเศษ Transformation tools เกี่ยวกับการปรับแต่งภาพ

4.      กลุ่มคำสั่ง Modification and Navigation tools เกี่ยวกับการดูภาพ และปรับมุมมอง

5.      กลุ่มคำสั่งในการเลือกสีในชิ้นงานและเส้นขอบของชิ้นงาน

6.      กลุ่มคำสั่งที่เกี่ยวกับการแสดงหน้าจอของ InDesign

การใช้งาน InDesign เบื้องต้น

  •       การสร้างไฟล์งานใหม่ทำได้ 2 รูปแบบ แบบที่ 1 การสร้างโดยกำหนดค่าเอง แบบที่ 2 การสร้างโดยเลือกจาก templates สำคัญที่สุดก่อนจะเริ่มงาน ต้องรู้ว่าจะนำงานไปใช้ในรูปแบบใด
  •       การสร้าง Text Frame สามารถทำได้หลายวิธีโดย ใช้เครื่องมือ type tool แล้วพิมพ์ข้อความตามที่ต้องการ หรือสามารถ place ข้อความจากไฟล์ MS Word .doc ได้ สำหรับนำเข้าข้อความที่มีปริมาณมาก ๆ 
  •       การย้ายตำแหน่งของรูปภาพ ให้สังเกตสีกรอบของภาพ ตอนที่ทำการเลือก ถ้ากรอบสีฟ้าแสดงว่าเป็นการเลือกทั้ง object แต่ถ้ากรอบสีน้ำตาล เป็นการเลือกเฉพาะรูปภาพ แต่ตำแหน่งเฟรมของภาพยังอยู่ที่เดิม
  •       การจัดการเนื้อหาThreading Text frame หากมีข้อความยาวๆเกิน frame จะสังเกตได้จากกล่องเล็กๆล่าง ขวามือ จะมีเครื่องหมาย + สีแดง แสดงว่าข้อความล้นจาก frame เราสามารถสร้าง กล่องข้อความต่อเนื่องจากกล่องเดิมได้ เรียก ฟังก์ชันการทำงานนี้ว่า Threading text box โดยใช้ selection tool คลิกที่เครื่องหมาย + แล้วลากไปยังอีก frame ที่ต้องข้อความต่อเนื่องกัน
  •  หนังสือ เรื่อง ประวัติการสร้างสานมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 

แหล่งอ้างอิง :

ธวัชชัย สลางสิงห์อัครรัตน์ กอบเกื้อ. (2562). อบรมเชิงปฏิบัติการ Adobe InDesign CC. ใน โครงการอบรบเชิงปฏิบัติการ การผลิตสื่อ e-book ด้วยโปรแกรม Adobe InDesign ระหว่างวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2562 ถึงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2562 ณ ห้องบริการฐานข้อมูลออนไลน์ สำนักวิทยบริการ  มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  จังหวัดอุบลราชธานี

 

 

Comment (269) Hits: 4244

 

ที่มาของภาพ : https://sopha2017.files.wordpress.com/2017/10/digital-marketing.jpg?w=356&h=325

           หน่วยจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการรวบรวม ประเมินคุณค่า จัดระบบและมาตรฐานการเก็บรักษา จัดทำคู่มือช่วยค้นและอนุรักษ์จดหมายเหตุมหาวิทยาลัยอันมีคุณค่ายิ่งต่อการบริหารงานของมหาวิทยาลัยและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับประวัติพัฒนาการและการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย และเพื่อให้การสร้างสรรค์และจัดการเอกสารจดหมายเหตุดิจิทัลมีคุณภาพทั้งในส่วนของการเตรียมสื่อดิจิทัล การสร้างเอกสาร งานพิมพ์ การสร้างสื่อนำเสนอ การจัดการเอกสาร PDF การเตรียมภาพดิจิทัลและการสร้างเอกสารเว็บได้อย่างมีคุณภาพ ทั้งนี้ขอเสนอแนวทางการจัดการเอกสาร PDF

            เอกสาร PDF (Portable Document Format) เป็นฟอร์แมตเอกสารดิจิทัล รูปแบบหนึ่งที่พัฒนาเพื่อเน้นการคงสภาพของเอกสาร ให้สามารถเรียกใช้ได้สะดวก โดยไม่มีปัญหาการจัดหน้ากระดาษ การจัดพารากราฟ จึงถูกนำไปประยุกต์ใช้ในหลากหลายทั้งการส่งเอกสาร เพื่อแลกเปลี่ยน การเก็บเป็นคลังเอกสาร การใช้นำเสนอผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต นอกจากความสามารถการคงความเป็นเอกสารต้นฉบับได้อย่างสมบูรณ์แล้ว เอกสาร PDF ยังสามารถกำหนดระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลได้หลายระดับตั้งแต่การเปิดเรียกดู การคัดลอก จนถึงการสั่งพิมพ์ หน่วยงานต่างๆ จึงให้ความสำคัญกับการจัดเก็บเอกสาร PDF เป็นอย่างมาก โดยมีวิธีดำเนินการหลัก 2 วิธีได้แก่

            1. การสแกนเอกสารต้นฉบับ ซึ่งมักจะเป็นตัวเล่ม หรือกระดาษ ให้เป็นเอกสารดิจิทัลรูปแบบ PDF

            2. การแปลง (Convert) หรือส่งออก (Export) เอกสารต้นฉบับที่อยู่ในรูปของแฟ้มดิจิทัล เช่น .doc, .xls, .ppt, .odt ให้เป็นเอกสาร ดิจิทัลรูปแบบ PDF เอกสาร PDF ที่ได้มาด้วยวิธีดำเนินการข้างต้น หลาย ๆ แฟ้มเอกสารอาจจะสามารถนำไปใช้งานต่อยอดได้ และมีจำนวนไม่น้อย ที่ไม่สามารถใช้งานต่อยอดได้ ดังเช่น

2.1 การสแกนเอกสารต้นฉบับด้วยความละเอียดต่ำ ทำให้เอกสาร PDF ที่ได้ไม่สามารถผ่านกระบวนการ OCR ได้

2.2 การสแกนเอกสารต้นฉบับโดยไม่ใส่ใจประเด็นความเอียงของเอกสารต้นฉบับ ทำให้ได้เอกสาร PDF ที่ไม่สวยงาม อ่านยาก

2.3 การแปลงหรือส่งออกเอกสารต้นฉบับที่มีการใช้ฟอนต์ที่หลากหลายและหรือฟอนต์ที่ต้องการการติดตั้งเพิ่มเติม ทำให้เอกสาร PDF มีปัญหาเกี่ยวกับการแสดงผลฟอนต์

                           2.4 การเสียเวลาจัดทำ Bookmark ของเอกสาร PDF    

เอกสาร PDF ที่ได้ด้วยกระบวนการสแกน

            การสแกน เป็นกระบวนการสร้างเอกสาร PDF ที่ได้รับความนิยมมานานและยังคงมีการปฏิบัติอยู่อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี การสแกนเอกสาร ควรมีแนวปฏิบัติดังนี้

             1. เลือกอุปกรณ์สแกนที่เหมาะสมกับสภาพเอกสาร

             2. กำหนดความละเอียด (Resolution) หรือคุณภาพ (Quality) ของอุปกรณ์สแกน ให้อยู่ในระดับสูง เช่น 300 dpi ขึ้นไป

             3. วางกระดาษ หรือต้นฉบับเอกสารให้ตรงหรือตามสภาพจริงของกระดาษ

             4. ดำเนินการสแกน ตามขั้นตอน โดยขั้นตอนการสแกน มีกระบวนการย่อยที่ต้องพิจารณา ดังนี้

 

Scan     →   Crop & Rotate   →    Retouch  →      PDF + Matadata →ตรวจสอบคุณภาพ

(เก็บต้นฉบับเข้าคลัง )                  ( ปรับค่า Level             (PDF คุณภาพสูง)

                                                   เก็บไฟล์ที่ Retouch เข้าคลัง

                                                   (ไฟล์คุณภาพสูง) )

เอกสาร PDF จากการแปลงหรือการส่งออก

            เอกสาร PDF จำนวนมากในปัจจุบัน มักจะได้มาด้วยกระบวนการแปลง (Convert) หรือการส่งออก (Export) โดยผ่านซอฟต์แวร์ หรือคำสั่งเฉพาะ เช่น การแปลงเอกสารที่สร้างด้วย MS Office เป็นเอกสาร PDF ผ่านโปรแกรม Acrobat Processional Pro หรือการส่งออกเอกสารที่สร้างด้วย OpenOffice.org/LibreOffice เป็น PDF ด้วยคำสั่ง Export เป็นต้น ทั้งนี้เอกสาร PDF ที่ดำเนินการด้วยการแปลงหรือส่งออก  ควรมีแนวปฏิบัติดังนี้

            1. เอกสารต้นฉบับ ควรสร้างด้วยความสามารถ Style เพื่อให้ระบบแปลงเนื้อหา Heading 1, Heading 2,… เป็น Bookmark ให้อัตโนมัติ

            2. เอกสารต้นฉบับ ควรระบุข้อมูลเอกสาร (Document Properties หรือ Metadata) ให้เหมาะสม เพื่อให้ได้เอกสาร PDF ที่มี Metadata จากต้นแหล่ง (เอกสารต้นฉบับ เช่น Word, PowerPoint เป็นต้น)

            3. เอกสาร PDF ควรมีข้อมูลบรรณานุกรมเพื่อประกอบการสืบค้นและการให้ข้อมูลต่อระบบเชื่อมโยงต่างๆ

            4. กำหนดรูปแบบการแปลงหรือส่งออกเอกสาร PDF ให้เหมาะสม ดังนี้

                       เอกสาร PDF รูปแบบปกติ เพื่อการใช้งานทั่วไป PDF - Portable Document Format (PDF) ควรแปลงเอกสารต้นฉบับให้เป็นเอกสาร PDF ที่ตรงกับลักษณะการใช้งาน เช่น Standard  สำหรับการสร้างเอกสาร PDF ที่พร้อมใช้งานทั่วไป

                        เอกสาร PDF รูปแบบ Smallest File สำหรับการสร้างเอกสาร PDF ที่มีการลดขนาดไฟล์เพื่อการส่งผ่านอีเมลล์หรือนำเสนอผ่านเว็บไซต์ 

                        เอกสาร PDF รูปแบบ /a (PDF/A) เพื่อการจัดเก็บเป็น Archives สำหรับการสร้างเอกสาร PDF เพื่อจัดเก็บเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ให้อยู่เป็นเวลานาน เอกสารจะมีการฝังฟอนต์และรับประกันว่าสามารถเปิดเรียกดูได้ในอนาคตผ่าน PDF Reader ต่างๆ สำหรับวิธีการฝังฟอนต์จะพูดถึงในลำดับต่อไป

 

 

บรรณานุกรม :

 บุญเลิศ อรุณพิบูลย์, บุญเกียรติ เจตจำนงนุช. (2561). แนวปฏิบัติการบริหารจัดการสื่อดิจิทัล. ใน หลักและแนวปฎิบัติการจัดการจดหมายเหตุ. (น.128-132). นนทบุรี : สำนักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

 

 

 

 

Comment (926) Hits: 9469

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สพธอ.) หรือ ETDA กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DE) ได้เปิดเผยผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตประเทศไทยในปี 2561 พบว่า พฤติกรรมการใช้งานอินเตอร์เน็ตของคนไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉลี่ยจะใช้งาน 10 ชั่วโมง 5 นาทีต่อวัน โดยช่วงอายุระหว่าง 18-37 ปี หรือ Gen Y เป็นกลุ่มที่มีการใช้งานสูงสุด ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนผ่านชีวิตไปสู่ดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น

และจากการจัดอันดับการใช้งานเว็บไซต์โดย และพบว่า Google เป็น search engine อันดับหนึ่งที่คนไทยใช้บริการและส่วนใหญ่เป็นการใช้งานบนสมาร์ทโฟนมากกว่าใช้บนคอมพิวเตอร์

ด้วยเหตุผลดังกล่าว งานข้อมูลท้องถิ่นและจดหมายเหตุ จึงได้ดำเนินการจัดทำและพัฒนาสารสนเทศท้องถิ่น เพื่อให้บริการบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตให้มากขึ้น ซึ่งอยู่ในรูปของเว็บไซต์และฐานข้อมูลต่าง ๆ ปัจจุบันมีให้บริการมากกว่า 10 เว็บไซต์ ทั้งนี้ในการพัฒนาเว็บไซต์และฐานข้อมูลในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ก็จะเลือกนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับช่วงเวลานั้น ๆ มาใช้ในการพัฒนา

esanpedia

ปัจจุบันงานข้อมูลท้องถิ่นฯ ได้ดำเนินการพัฒนาเว็บไซต์และฐานข้อมูลโดยเลือกใช้ระบบโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อจัดการเนื้อหาบนอินเตอร์เน็ต (Content Management : CMS) คือ WordPress มาใช้งาน ซึ่งสามารถใช้งานได้ง่าย มีคู่มือหรือเทคนิควิธีการใช้งานเผยแพร่ตามสื่อต่าง ๆ สามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง

งานข้อมูลท้องถิ่นและจดหมายเหตุ เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการบริหารจัดการสารสนเทศท้องถิ่นอีสาน โดยได้ดำเนินการรวบรวม เรียบเรียง และพัฒนาสารสนเทศที่เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นขึ้น มีการนำเสนอสารสนเทศหลากหลายรูปแบบ อาทิ เว็บไซต์สารสนเทศท้องถิ่นอีสาน ณ อุบลราชธานี ภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองอุบล องค์ความรู้จากงานศิลปวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  และมุ่งเน้นให้บริการบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นช่องทางที่สอดคล้องกับพฤติกรรมการเข้าถึงข้อมูลของคนในยุคปัจจุบันที่ผู้ใช้สามารถเข้าใช้งานได้อย่างสะดวก โดยไม่จำกัดสถานที่ เวลา และอุปกรณ์

เพื่อเป็นการส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงสารสนเทศที่ให้บริการ งานข้อมูลท้องถิ่นฯ จึงได้จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์งานข้อมูลท้องถิ่นและชี้แหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นขึ้น โดยมีการสร้างสรรค์สื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้บริการได้รับรู้ข้อมูล ข่าวสาร กิจกรรมและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ตลอดจนเผยแพร่สารสนเทศศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นออกสู่สาธารณะให้กว้างขวางมากขึ้น 

 

Joomla Template by Joomla51.com